วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลปณิธานสูตร

 

พระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลปณิธานสูตร

藥師琉璃光如來本願功德經


พระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลปณิธานสูตร
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระศากยมุนีพุทธะ เสด็จประทับ
ณ กรุงเวสาลีสุขโฆสวิหาร พร้อมด้วยพระมหาสาวก ๘,๐๐๐
องค์ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ๓๖,๐๐๐ องค์ และพระราชาธิบดี
เสนาอำมาตย์ ตลอดจนปวงเทพ ในขณะนั้นแล พระมัญชุศรี ผู้
ธรรมราชาบุตร อาศัยพระพุทธาภินิหาร ลุกขึ้นจากที่ประทับทำ
จีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่งลงคุกพระชาณุกับแผ่นดิน ณ เบื้องพระ
พักตร์ของสมเด็จพระโลกนาถเจ้า ประคองอัญชุลีกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดประทาน
พระธรรมเทศนา พระพุทธนามและมหามูลปณิธาน และ
คุณวิเศษอันโอฬาร แห่งปวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
เพื่อยังผู้สดับพระธรรมกถานี้ให้ได้รับหิตประโยชน์บรรลุถึงสุขภูมิ”

พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาของพระมัญชุศรี
โพธิสัตว์ แล้วจึงทรงพระเกียรติคุณของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าว่า

“ดูก่อนกุลบุตร จากที่นี้ไปทางทิศตะวันออก ผ่าน
โลกธาตุ อันมีจำนวนดุจเม็ดทรายในคงคานที ๑๐ นที รวมกัน
ณ ที่นั้นมีโลกธาตุหนึ่งนามว่า วิสุทธิไพฑูรย์โลกธาตุ ณ
โลกธาตุนั้น มีพระพุทธเจ้าซึ่งทรงพระนามว่า ไภษัชยคุรุไวฑูรย์
ประภาตถาคต พระองค์ถึงพร้อมด้วยพระภาคเป็นพระอรหันต์
เป็นผู้ตรัสรู้ดีชอบแล้วด้วยพระองค์เอง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชา
และจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้ยอดเยี่ยม
ไม่มีใครเปรียบ เป็นสารถีฝึกบุรุษ เป็นศาสดาแห่งเทวดาและ
มนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมกล่าวสอนสัตว์ ดู
ก่อนมัญชุศรี ณ เบื้องอดีตภาค เมื่อตถาคตเจ้าพระองค์นี้ ยัง
เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงตั้ง
มหาปณิธาน ๑๒ ประการเพื่อยังความต้องการแห่งสรรพสัตว์ให้
บรรลุ”

ก็มหาปณิธาน ๑๒ ประการเป็นไฉน

第一大願。

願我來世得阿耨多羅三藐三菩提時。自身光明熾然。照曜
無量無數無邊世界。以三十二大丈夫相八十隨好莊嚴其
身。令一切有情如我無異


1. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งมี
วรกายอันรุ่งเรือง ส่องสาดทั่วอนันตโลกธาตุ บริบูรณ์ด้วยมหาปุ
ริสลักษณะ ๓๒ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ขอให้สรรพสัตว์จงมี
วรกายดุเดียวกับเรา

第二大願。

願我來世得菩提時。身如琉璃內外明徹淨無瑕穢。光明廣
大功德巍巍。身善安住焰網莊嚴過於日月。幽冥眾生悉蒙
開曉。隨意所趣作諸事業


2 .ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขอ
ให้วรกายของเรามีสีสันดุจไพฑูลย์ มีรัศมีรุ่งโรจน์โชตนาการยิ่ง
กว่าแสงจันทร์และแสงอาทิตย์ ประดับด้วยคุณาลังการอัน
มโหฬารไพศาลพันลึก ส่องทางให้แก่สัตว์ที่ตกอยู่ในอบายคติ
ให้หลุดพ้นเข้าสู่คติที่ชอบตามปรารถนา

第三大願。

願我來世得菩提時。以無量無邊智慧方便。令諸有情皆得
無盡。所受用物。莫令眾生有所乏少


3. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ขอ
ให้เราได้ใช้ปัญญาโกศลอันล้ำลึกสุขุมไม่มีที่สิ้นสุด ยังสรรพ
สัตว์ให้ได้รับโภคสมบัตินานาประการ อย่าได้มีความยากจน
ใดๆ

第四大願。

願我來世得菩提時。若諸有情行邪道者。悉令安住菩提道
中。若行聲聞獨覺乘者。皆以大乘而安立之


4. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หาก
มีสัตว์ใดที่เป็นมิจฉาทิฐิ ก็ขอให้เรายังเขาให้ตั้งมั่นในสัมมาทิฐิ
ในโพธิมรรค หากมีสัตว์ใดดำเนินปฏิปทาแบบสาวกยาน ปัจเจก
ยาน ก็ขอให้เราสามารถยังเขามาดำเนินปฏิทาแบบมหายาน

第五大願。

願我來世得菩提時。若有無量無邊有情。於我法中修行梵
行。一切皆令得不缺戒具三聚戒。設有毀犯聞我名已。還
得清淨不墮惡趣


5. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หาก
มีสรรพสัตว์ใดมาประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยของเรา ก็ขอ
ให้เขาเหล่านั้นอย่าได้มีศีลวิบัติเลย จงบริบูรณ์ด้วยองค์แห่งศีล
ทั้ง ๓ เถิด หากมีผู้ใดศีลวิบัติ เมื่อได้สดับนามแห่งเรา ก็ขอให้
จงบริบูรณ์ดุจเดิมไปตกสู่ทุคตินิรยาบาย

第六大願。

願我來世得菩提時。若諸有情。其身下劣諸根不具。醜陋
頑愚盲聾瘖啞攣躄背僂白癩癲狂種種病苦。聞我名已一切
皆得端正黠慧。諸根完具無諸疾苦


6. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หาก
มีสรรพสัตว์มีกายอันเลวทราม มีอินทรีย์อันไม่ผ่องใส โง่เขลา
เบาปัญญา ตาบอดหรือหูหนวกเป็นใบ้ หรือหลังค่อม สารพัด
พยาธิทุกข์ต่างๆ เมื่อได้สดับนามแห่งเรา ก็ขอให้หลุดพ้นจาก
ปวงทุกข์เหล่านั้น มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีอินทรีย์ผ่องใส
สมบูรณ์

第七大願。

願我來世得菩提時。若諸有情。眾病逼切無救無歸無醫無
藥無親無家貧窮多苦。我之名號一經其耳。眾病悉得除身
心安樂。家屬資具悉皆豐足。乃至證得無上菩提

7. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หาก
มีสรรพสัตว์อันทุกข์เบียดเบียน ปราศจากที่พึ่งพิงและที่อยู่
อาศัย ปราศจากแพทย์และยา ปราศจากวงศาคณาญาติ อัน
ความยากจนข้นแค้น มีทุกข์มาเบียดเบียนแล้ว เพียงแต่นาม
แห่งเราผ่านโสตของเขาเท่านั้น ขอสรรพความเจ็บป่วยจงปราศ
ไปสิ้น เป็นผู้มีกายใจอันผาสุก มีบ้านเรือนอาศัย พรั่งพร้อมด้วย
ธนสารสมบัติ จนที่สุดก็จักได้สำเร็จแก่พระโพธิญาณ

第八大願。

願我來世得菩提時。若有女人。為女百惡之所逼惱。極生
厭離願捨女身。聞我名已一切皆得轉女成男具丈夫相。乃
至證得無上菩提


8. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หาก
มีอิสตรีใด มีความเบื่อหน่ายต่อเพศแห่งตน ปรารถนาจะกลับ
เพศเป็นบุรุษไซร้ มาตรว่าได้สดับนามแห่งเรา ก็จงสามารถ
เปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชายได้ตามปรารถนา จนที่สุดก็จักได้
สำเร็จแก่พระโพธิญาณ

第九大願。

願我來世得菩提時。令諸有情。出魔罥網。解脫一切外道
纏縛。若墮種種惡見稠林。皆當引攝置於正見。漸令修習
諸菩薩行速證無上正等菩提


9. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เรา
จงสามารถยังสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากข่ายแห่งมาร และ
เครื่องผูกพันของเหล่ามิจฉาทิฐิให้สัตว์เหล่านั้น ตั้งอยู่ในสัมมา
ทิฐิ และให้ได้บำเพ็ญโพธิสัตย์จริยาจนบรรลุพระโพธิ ญาณในที่สุด

第十大願。

願我來世得菩提時。若諸有情。王法所錄。縲縛鞭撻繫閉
牢獄或當刑戮。及餘無量災難凌辱悲愁煎迫。身心受苦。
若聞我名。以我福德威神力故。皆得解脫一切憂苦

10. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มี
สัตว์เหล่าใดถูกต้องพระราชอาญา ต้องคุมขัง รับทัณฑกรรมใน
คุกตะราง หรือต้องอาญาถึงประหารชีวิต ตลอดจนได้รับการข่ม
เหงคะเนงร้าย ดูหมิ่นดูแคลนเหยียดหยามอื่นๆ เป็นผู้มีอันคับ
แค้นเผาลนแล้ว มีใจกายอันวิปฏิสารอยู่ หากได้สดับนามแห่ง
เรา ได้อาศัยบารมี และคุณาภินิหารย์ของเรา ขอสัตว์เหล่านั้น
จงหลุดพ้นจากปวงทุกข์ดังกล่าว

第十一大願。

願我來世得菩提時。若諸有情。飢渴所惱。為求食故造諸
惡業。得聞我名專念受持。我當先以上妙飲食飽足其身。
後以法味。畢竟安樂而建立之


11. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มี
สัตว์เหล่าใดมีความทุกข์ด้วยหิวกระหายแล้ว ประกอบ
อกุศลกรรมเพราะเหตุแห่งอาหารไซร้ หากได้สดับนามแห่งเรา
มีจิตหมั่นตรึกนึกภาวนาเป็นนิตย์ เราจักประทานเครื่องอุปโภค
บริโภค อันประณีตแก่เขา ยังเขาให้อิ่มหนำสำราญแล้ว จัก
ประทานธรรมรสแก่เขาให้เราได้รับความสุข

第十二大願。

願我來世得菩提時。若諸有情。貧無衣服。蚊虻寒熱晝夜
逼惱。若聞我名專念受持。如其所好即得種種上妙衣服。
亦得一切寶莊嚴具華鬘塗香鼓樂眾伎。隨心所翫皆令滿足


12. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มี
สัตว์เหล่าใดที่ยากจน ปราศจากอาภรณ์นุ่งห่มอันความหนาว
ร้อน และเหลือบยุงเบียดเบียนทั้งกลางวันและกลางคืน หากได้
สดับนามแห่งเราและหมั่นรำลึกถึงเราไซร้ เขาจักได้สิ่งที่
ปรารถนาและจักบริบูรณ์ด้วยธนสารสมบัติ สรรพอาภรณ์ เครื่อง
ประดับและเครื่องบำรุงความสุขต่างๆ ฯลฯ

ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาศากยมุนีพุทธเจ้า ตรัสต่อไปว่า
พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านี้ มีพระโพธิสัตว์ผู้ใหญ่ ๒ องค์ คือ พระ
สุริยไวโรจนะ และพระจันทรไวโรจนะ เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ช่วย
ของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า

เบื้องปลายแห่งพระสูตรนั้น ทรงแสดงอานิสงส์ของ
การบูชาพระไภษัชยคุรุว่า


“ผู้ใดก็ดี ได้บูชาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใสแล้ว ก็
จักเจริญด้วย อายุ วรรณ สุข พละ ปราศจากภัยบีฑา ไม่ฝันร้าย
ศัสตรวุธทำอันตรายมิได้ สัตว์ร้ายทำอันตรายมิได้ โจรภัยทำ
อันตรายมิได้ ยาพิษทำอันตรายมิได้ ฯลฯ”


นอกจากนั้นทรงแสดงถึงพิธีจัดมณฑลบูชา พระไภษัช
ยคุรุ อีกด้วยว่า ต้องจัดพิธีมีเครื่องบูชาอย่างนั้นๆ และทรง
ประทานพระคาถาบูชา พระไภษัชยคุรุ ด้วยในเวลาตรัสพระ
คาถานี้ พระบรมศาสดาทรงประทับเข้าสมาธิชื่อ

“สรวสัตวทุกขภินทนาสมาธิ” ปรากฏรัศมีไพโรจน์ขึ้น
เหนือพระเกตุมาลา แล้วจึงตรัสพระคาถามหาธารณี ดังนี้

“นโม ภควเต ไภษชฺยคุรุ ไวฑูรฺยปรฺภาราชาย
ตถาคตยารฺทเต สมฺยกฺสมฺพุทฺธาย
โอมฺ ไภเษชฺเย ไภเษชฺย สมุรฺคเตสฺวาหฺ”


ครั้นตรัสพระมหาธารณีนี้แล้ว พสุธาก็กัมปนาทหวาดไหว
แสงสว่างอันโอฬารก็ปรากฏ สัตว์ทั้งปวงก็หลุดพ้นจากสรรพ
พยาธิ บรรลุสุขสันติอันประณีตแล้ว พระบรมศาสดา จึงตรัสว่า

“ดูก่อนมัญชุศรี ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใด อันพยาธิทุกข์
เบียดเบียนแล้ว ถึงตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วนำพระมหาธารณีบท
นี้ ปลุกเสกอาหารหรือยา หรือน้ำดื่มครบ ๑๐๘ หน แล้วดื่มกิน
เข้าไปเถิด จักสามารถดับสรรพปวงพยาธิได้ ฯลฯ”

สมันตภัทรจริยาปณิธานปริวรรต

สมันตภัทรจริยาปณิธานปริวรรต
                                 คำนำ

สมันตภัทรจริยาปณิธานปริวรรต
อวตังสกคัณฑวยูหสูตร




สมันตภัทรจริยาปณิธานปริวรรต ” นี้เป็นส่วนแห่ง
“ อวตังสกคัณฑยูหสูตร ” กล่าวคือ เป็นปัจฉิมบท
หรือตอนสุดท้ายแห่งพระสูตรดังกล่าว“ สมันตภัทรจริยา
ปณิธานปริวรรต ” เป็นคัมภีร์ประกอบด้วยพรรณนาโวหารอัน
เป็นร้อยแก้วในส่วนต้น และคาถาที่เป็นร้อยกรองในส่วน
ปลาย โดยต้นฉบับเดิม ทั้งสันสกฤต และภาษาจีนได้คงประ
พันธลักษณ์ในรูปแบบนี้ไว้เหมือนกัน

“ อวตังสกสูตร ” พระสูตรนี้เกิดขึ้นจากพระพุทธดำรัสเมื่อ
ตรัสรู้ หากลุ่มลึกเกินกว่าเวไนยนิกรสมัยพุทธกาลจะเข้าใจได้
จึงมาปรากฎความขึ้นเมื่อพุทธปรินิพพานล่วงแล้วไปได้ราว
500 ปี แล้วแปลออกเป็นภาษาจีนอีก 300 ปีต่อแต่นั้นมา
พระสูตรนี้มีถ้อยคำอุปมาที่สำคัญอันว่าด้วย ข่ายของพระ
อินทร์ (ท้าวสักกะ) ซึ่งถักไว้ด้วยมณีรัตนะต่างๆ แต่ละเมล็ด
สะท้อนให้เห็นแสงของกันและกัน เป็นการโยงทาง ปัจจยา
การ หรือ อิทัปปัจยตาของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล ซึ่งอยู่ใน
เครือข่าย หรือแหของพระอินทร์ (จะเรียกว่า “ อินทรชาล
สูตร ” โดยเปรียบเทียบกับ “ พรหมชาลสูตร ”) ของเถรวาท
เราก็ได้เพราะคำว่า “ ชาล ” ก็คือ ร่างแหนั้นแล

“ อวตังสกสูตร ” เก็บความอย่างละเอียด แต่ย่อยสุดไป
จนใหญ่สุด และในทุกอณูมีพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้า
ปรากฎอยู่ด้วยเสมอไป พระสูตรเริ่มจากการพรรณนาถึงภาวนา
วิธี ที่กระทำได้ทุกๆ วันของทุกๆ คน ก่อนเข้าถึง “ อวตังสก ”
หรือ ดอกไม้อันประดับ อย่างเป็นเลิศ อันได้แก่ “ พระไวโรจน
พุทธ ซึ่งก็คือพระธรรมกายของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
ในสกลจักรวาล หรือ จะกล่าวว่า พระไวโรจนพุทธ ก็คือ สกล
จักรวาล นั้นเอง ”พระไวโรจนพุทธ ทรงแสดงออกซึ่งพุทธ
ภาวะ อันได้ก่อสัจภาวะของธรรมชาติ

หากกระจายและขยายความออกไปเป็นพระโพธิสัตว์ต่าง
ๆ เช่น พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ ซึ่งทรงแสดงออกซึ่งการ
กระทำทุก ๆ อย่าง “ อวตังสกสูตร ” นี้ เน้นที่พระไวโรจนพุทธ
และพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ แล้วจึงอธิบายว่าด้วยทศภูมิกะ
หรือการเจริญโพธิสัตว ธรรมบารมีเป็นขั้น ๆ ทั้ง 10 ขั้น
บทสุดท้ายของพระสูตร มีชื่อว่า “ คัณฑวยูหสูตร ” ซึ่งนับว่า
ยาวที่สุด และแบ่งเป็น 39 ตอน ทางเมืองจีนเน้นบทนี้เป็นที่
ยิ่ง กล่าวพรรณนา

ว่าด้วยการเข้าถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้วคือ ดินแดนซึ่ง
เป็นสัตยะ ด้วยการเล่าถึงบุญจาริกของท่านสุธน ซึ่งพระ
โพธิสัตว์มัญชุศรีส่งให้ไปแสวงหาสัจธรรม ท่านสุธนไปแสวง
หาครูอาจารย์ถึง 53 ท่าน จากวิถีชีวิตต่าง ๆ จนในที่สุด
ท่านสุธนไปพบพระศรีอารยเมตไตรย์โพธิสัตว์ ซึ่งชี้ให้ดูหอ
ใหญ่ หมายความว่าหอนี้รวมภูมิปัญญาของพระโพธิสัตว์ไว้
จนท่านเข้าใจสกลจักรวาล ท่านสุธนเข้าไปยังหอใหญ่ที่ว่านี้
แล้วไปพบหอใหญ่อื่นๆ อีกมาก

ทั้งยังไปค้นพบด้วยว่าพระศรีอารยเมตไตรย์นั้น ได้บรรลุ
ธรรมถึงที่สุดในโลกต่าง ๆ มามากแล้ว หากยังคงอธิษฐาน
โพธิสัตวธรรมบารมีรอเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อไป
เพื่อคอยช่วยเหลือสรรพสัตว์

แต่ละหอที่ท่านสุธนค้นพบ ล้วนกว้างขวางอย่างไพศาล
มีเนื้อที่ที่รวมเอาเนื้อที่ของหออื่น ๆ เข้ามาด้วย จนไม่รู้จักจบ
สิ้น ในที่สุดพระศรีอารยเมตไตรย์โพธิสัตว์ทรงส่งท่านสุธน
กลับไปหาพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เพื่อไปเรียนรู้เพิ่มเติม แต่แล้ว
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ก็เพียงตบศีรษะท่านสุธน ให้ท่านกลาย
สภาพไปเป็นพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ภายในเสี้ยวเวลา 52
วินาที .................นี้แลคืออวสานของพระสูตร

ชื่อพระสูตรว่า “ อวตังสก ” นี้ กลายเป็นนิกายหนึ่ง
ของมหายานในเมืองจีน ซึ่งสอนพุทธปรัชญาอย่างลึกซึ้ง
ด้วยการแปลภาวนาวิธีต่างๆ ให้เกิดการตื่นขึ้นจากการบีบรัด
ของกองกิเลส จนหลายคนเห็นกันว่านิกายนี้ ในเมืองจีนเป็น
จุดสุดยอดของปรัชญามหายาน ซึ่งเน้นในเรื่อง “ ปัจจายา
การ ” อันนำมาใช้ได้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
เป็นเหตุให้พวกนิเวศวิทยาสมัยใหม่ของฝรั่งหันมาสนใจพระ
สูตรนี้และนิกายนี้กันเป็นอันมาก

คำปรารมภ์

“ สมันตภัทรจริยาปณิธานปริวรรต ”
จาก อวตังสกคัณฑวยูหสูตรนั้น นับเป็นพระสูตรสำคัญในฝ่าย
พระพุทธศาสนามหายาน โดยในอดีตถือเป็นวัตรปฏิบัติที่จัก
ต้องสาธยายพระสูตรนี้ แม้ในการประกอบพิธีกรรม หรือพุทธ
ประเพณีส่วนใหญ่ก็มักอ้างอิงถึง โดยเฉพาะในการถวายพุทธ
บูชา และในการศึกษาพระธรรม ทั้งนี้ เพื่อขอพึ่งพระบารมี
พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ ผู้ทรงปณิธานและจริยาวัตรอัน
ประเสริฐ สืบเนื่องถึงปัจจุบัน พระสูตรนี้จักหาผู้ที่มีศรัทธา
สาธยายได้น้อยลงทุกที เนื่องด้วยเป็นพระสูตรที่ค่อนข้างยาว
และใช้ภาษาที่ลุ่มลึกยากแก่การสวดท่อง มิได้กว้างขวางเช่น
พระสูตรอื่นอย่าง “ สุขาวดีสูตร ” หรือ “ สัทธรรมปุณฑริก
สูตร ”

นอกจากนี้ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ แม้จะปรากฎพระ
นามเป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญในฝ่ายมหายาน แต่ก็ไม่เป็นที่
แพร่หลายในหมู่ศาสนิกชนทั่วไป เป็นเหตุให้พระสูตรที่กล่าว
ถึงพระมหาโพธิสัตว์พระองค์นี้ไม่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้าง
ขวาง คงมีการสวดสาธยายกันในหมู่พุทธศาสนิกชนกลุ่ม
น้อย

คำแปล สมันตภัทรจริยาปณิธานปริวรรต
อวตังสกคัณฑวยูหสูตร


เมื่อนั้นพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ได้สดับพระธรรมเทศนา
อันพระผู้มีพระภาคทรงสำแดงงดงามแล้ว บังเกิดความปิติชื่น
ชมในพระผู้มีพระภาค และพระธรรม จึงได้ตรัสคาถาสดุดี
พระพุทธบารมีแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า และตรัสแก่พระโพธิสัตว์
ทั้งปวง พระสุธนกุมาร พระอริยสาวกทั้งปวง ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา สามเณร ซึ่งได้สดับพระธรรมเทศนาอยู่
ณ ที่นั้น ( ณ ที่นั้น ผู้ที่ได้สดับพระสมันตภัทรโพธิสัตว์
มีมากมายมิอาจประมาณได้ มีปัญญาแตกต่างกันไป แต่ในที่
นี้พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ ทรงตรัสแก่พระสุธนกุมารด้วยเป็นผู้
มีปัญญาเฉียบแหลม และมีบุญญธิการมาก )

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ทรงตรัสว่า ...........

ดูกร ท่านผู้เจริญ พุทธบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายยิ่ง
นัก หากว่าพระพุทธเจ้าในทศทิศ ตรัสสรรเสริญพระพุทธเจ้า
องค์อื่นแต่ละองค์ต่อกันไป ซึ่งมีอยู่จำนวนมากมายประดุจ
ละอองเกษตรอันมิอาจประมาณได้ เหลือที่จะพรรณนา
หากผู้ใดตั้งปณิธานจักบำเพ็ญบารมีตามเสด็จพระพุทธองค์
แล้ว พึงตั้งปณิธาน และปฏิบัติดังนี้

ปณิธานข้อที่ 1 เคารพบูชาพระพุทธเจ้าทั้งปวง
ปณิธานข้อที่ 2 สรรเสริญพระตถาคตทั้งปวง
ปณิธานข้อที่ 3 ถวายบูชาแด่พระตถาคตทุกพระองค์
ปณิธานข้อที่ 4 ขมาอกุศลกรรมทั้งปวง
ปณิธานข้อที่ 5 อนุโมทนากุศลทั้งหลาย
ปณิธานข้อที่ 6 ทูลอาราธนาให้ทรงแสดงพระธรรม
ปณิธานข้อที่ 7 อาราธนาให้ประทับอยู่ในโลกต่อไป
ปณิธานข้อที่ 8 ขอศึกษาพระธรรมให้เจนจบ
ปณิธานข้อที่ 9 ขออนุโลมตามสรรพสัตว์
ปณิธานข้อที่ 10 ขออุทิศกุศลทั้งมวลแก่สรรพสัตว์


พระสุธนกุมารได้ทูลถามขึ้นว่าพระมหาอริยะจักพึงปฏิบัติ
อย่างไรตามมหาปณิธานทั้ง 10 ประการนั้น

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ทรงอธิบายดังนี้:-

ปณิธานข้อที่ 1 เคารพบูชาพระพุทธเจ้าทั้งปวง


กุลบุตรทั้งหลาย ในการเคารพบูชาพระพุทธเจ้านั้นจะต้องเป็น
การเคารพบูชา อันประกอบด้วยกาย วาจา และใจ (อันแน่ว
แน่ และบริสุทธิ์เปี่ยมด้วยความตั้งใจ) ที่สมบูรณ์ พระพุทธเจ้า
ที่พึงเคารพบูชานั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล (เกินสติปัญญา
ของมนุษย์จักประมาณได้) ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
อาศัยปณิธานของข้าพเจ้า (พระสมันตภัทร) ข้าพเจ้าเชื่อโดย
ปราศจากข้อกังขาใด ๆ ประดุจดังพระพุทธเจ้าทั้งปวงเสด็จมา
ปรากฎอยู่เบื้องหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอภิวาทบูชาด้วยกาย
วาจา และใจที่แน่วแน่ บริสุทธิ์ และจักเคารพบูชาเช่นนี้ตลอด
ไป ในแต่ละพุทธเกษตรอันมีจำนวนมากมายประมาณมิได้
จักปรากฎกายของข้าพเจ้าขึ้นในทุกสถานที่ ไร้ซึ่งขอบเขต
และทุกกายจักอภิวาทบูชาพระพุทธเจ้าอันมีจำนวนประมาณมิ
ได้เช่นกัน ข้าพเจ้าจักเคารพบูชาสืบไปไม่หยุดหย่อน และการ
บูชาของข้าพเจ้าก็จักไม่มีวันสิ้นสุด

ปณิธานข้อที่ 2 สรรเสริญพระตถาคตทั้งปวง

กุลบุตรทั้งหลาย การถวายสรรเสริญพระพุทธเจ้านั้น
(สรรเสริญการบำเพ็ญบารมี พระพุทธคุณ พระมหากรุณาต่อ
สรรพสัตว์) ในโลกแห่งความว่างเปล่าแห่งนี้ (ครอบคลุมทั้ง
จักรวาล) บนผืนแผ่นดิน ในทศทิศตลอดทั้งสามภพ มีจำนวน
พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์มากมายมหาศาล เกินกว่ามนุษย์
จะจินตนาการได้ อีกทั้งสรรพสัตว์ล้วนมีอกุศลกรรมขวางกั้น
มิให้ได้เห็นพระพุทธเจ้าได้สดับพระสัจธรรม ข้าพเจ้าเชื่อโดย
ปราศจากข้อสงสัยในสิ่งที่ข้าพเจ้า (พระสมันตภัทร) ได้เห็นถึง
จำนวนพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ อันมิอาจประมาณได้
เกินปัญญาของสรรพสัตว์จะหยั่งรู้ได้ คำสรรเสริญของพระ
พุทธเจ้านั้นเป็นคำสรรเสริญอัน (ประดุจ) ออกมาจากพระ
โอษฐ์ของพระสุรัสวดี อันสามารถเปล่งเสียงอันไพเราะได้นับ
ไม่ถ้วน ในแต่ละเสียงล้วนประกอบด้วยคำสรรเสริญพระ
พุทธเจ้าอีกนับไม่ถ้วน สรรเสริญพระพุทธคุณ พระพุทธ
บารมี การสรรเสริญนั้นไม่มีหยุดหย่อน และจะสรรเสริญพระ
พุทธเจ้าไปทั่วโลกธาตุทั้งหลายโดยจะไม่มีวันหยุดหย่อน

ปณิธานข้อที่ 3 ถวายบูชาแด่พระตถาคตทุกพระองค์


กุลบุตรทั้งหลาย การบำเพ็ญเพียรเพื่อถวายบูชาแด่พระ
พุทธเจ้า (ในโลกแห่งความว่างเปล่า มีพระพุทธเจ้าอยู่มาก
มาย…) โดยอาศัยบารมีมหาปณิธานแห่งพระสมันตภัทร
ข้าพเจ้า (พระสมันตภัทร) เชื่อโดยปราศจากข้อกังขา ในการ
ถวายบูชาพระพุทธเจ้านั้นต้องเลือกสิ่งที่ดีเลิศที่สุด งดงามที่
สุด บริสุทธิ์ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ ดนตรี ฉัตร แพร
พรรณ มาลา เครื่องสุคนธ์ ธูป ผงจันทร์ และบูชาด้วย
ประทีปสารพัด เช่น ประทีปน้ำมันเนย ประทีปน้ำมันหอม
และประทีปน้ำมันธรรมดา แต่ละอย่างต้องดีเลิศที่สุด และมี
จำนวนมากมายมหาศาลประดุจเขาพระสุเมรุ ประดุจเมฆใน
ท้องฟ้า เพื่อเป็นการถวายบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งมีจำนวน
มหาศาล ในทศทิศตลอดทั้งสามภพ การบูชาดังกล่าวข้าง
ต้น ข้าพเจ้าจะบูชาพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

กุลบุตรทั้งหลาย การถวายบูชาด้วยพระธรรมคำสั่งสอน คือ
การปฏิบัติ นั้นเลิศที่สุด การปฏิบัตินั้นมีอยู่ 7 ประการคือ

1. การบำเพ็ญเพียรตามคำสอน
2. เมื่อปฏิบัติตามคำสอนก็จะบังเกิดกุศลและบารมี
และใช้กุศลและบารมีนั้นโปรดสรรพสัตว์เพื่อประโยชน์สุข
แก่สรรพสัตว์
3. จงมีเมตตาจิตต่อสรรพสัตว์ที่ต้องเผชิญความทุกข์
โดยการยอมรับ ช่วยเหลือ สั่งสอน
4. ยอมรับทุกข์แทนสรรพสัตว์ ถือเป็นการเสียสละ มี
เมตตาธรรม
5. บำเพ็ญเพียรโดยไม่ย่อท้อ
6. ยังกิจแห่งพระโพธิสัตว์ให้สมบูรณ์
(กระทำตนเพื่อเป็นประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์อยู่เป็นนิตย์)
7. ยังโพธิจิตให้สมบูรณ์ หมั่นบำเพ็ญเพียร อาศัยโพธิจิตนี้
สรรพสัตว์จึงจักเข้าสู่พุทธภูมิได้

ทั้ง 7 ประการนี้คือการปฏิบัติเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

กุลบุตรทั้งหลาย การบูชาด้วย “ อามิสบูชา ” ถึงแม้จะได้กุศล
มากมาย หากแต่เทียบไม่ได้เลยกับการบูชาด้วย “ การ
ปฏิบัติ ” “อามิสบูชา” นั้นเทียบได้เพียง 1 ใน 100 1
ใน 1,000 เท่ากับฝุ่นละอองในโลกเท่านั้นเอง

เนื่องจากว่า พระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงเคารพพระสัทธรรม
พระธรรมเป็นมรรคสู่พุทธภูมิ พระพุทธเจ้าทรงดำเนินตามมรรค
แห่งพระธรรมนั้น ดังนั้น หากสรรพสัตว์ปฏิบัติตามพระธรรม ก็
จะบรรลุถึงพุทธภูมิ หากพระโพธิสัตว์ทั้งหลายปฏิบัติตามพระ
ธรรมถวายเป็นพุทธบูชา แล้วบรรลุมรรคผลก็นับเป็นพุทธบูชา
อย่างหนึ่ง ดังนั้น การปฏิบัติบูชาจึงนับเป็นการบูชาที่แท้จริง
การบูชาที่เป็นมหากุศลทั้งด้วยอามิส และการปฏิบัติ จะบูชาสืบ
ไปโดยไม่มีหยุดหย่อน…

ปณิธานข้อที่ 4 ขมาอกุศลกรรมทั้งปวง


กุลบุตรทั้งหลาย เนื่องจากสรรพสัตว์ทั้งปวงตกอยู่ในความ
ทุกข์ ความโลภ โกรธ หลง เป็นเหตุให้ก่ออกุศลกรรมขึ้นมาก
มาย ผลแห่งกรรมนั้นก่อให้สรรพสัตว์ได้รับทุกข์ สืบไปเป็น
วัฏจักรเช่นนี้ ดังนั้นการขอขมากรรมจึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการ
ไม่ก่ออกุศลกรรม การขอขมาอกุศลกรรมทั้งปวงนั้น (โดยการ
สำนึกในอกุศลกรรมที่ได้กระทำลงไป และพึงระวังมิให้กระทำ
ซ้ำอีก และจักเพียรสร้างกุศลกรรมทดแทนสืบไป) ข้าพเจ้า
(พระสมันตภัทร) ก็เคยก่ออกุศลกรรมมามากมาย บัดนี้
ข้าพเจ้าได้กำจัดทุกข์ กรรม และผลของกรรมได้โดยสิ้นเชิง
แล้ว เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งปวง พระโพธิสัตว์ทั้ง
หลาย ข้าพเจ้าได้แสดงอาบัติขอขมากรรมทั้งปวง ชำระซึ่ง
ความโลภ โกรธ หลง ความทุกข์ กรรม และผลของกรรม
จักไม่มีแก่ข้าพเจ้า และจักละอกุศลกรรมนั้นเสีย จักเพียร
สร้างกุศลกรรมทั้งปวงสืบไป บัดนี้ข้าพเจ้าขอขมาอกุศลกรรม
ทั้งปวง (เป็นการตั้งปณิธานอันแน่วแน่ว่าจักละอกุศลกรรมทั้ง
ปวง) ตลอดไปไม่มีหยุดหย่อน

ปณิธานข้อที่ 5 อนุโมทนากุศลทั้งหลาย


กุลบุตรทั้งหลาย การอนุโมทนากุศลทั้งปวงนั้น เพื่อเป้าหมาย
แห่งการสั่งสมมหากุศลกรรมอันยิ่งใหญ่ เริ่มจากการตั้งจิตที่
แน่วแน่ พากเพียรบำเพ็ญตน ละเลยแล้วซึ่งตนเอง แม้กาล
จะผ่านมานานนักมิอาจประมาณได้ด้วยกัลป์ ในแต่ละกัลป์ได้
เสียสละร่างกาย และชีวิตตน เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์
การบำเพ็ญเพียรทั้งปวงในข้างต้น ไม่ว่าจะยากลำบากเพียง
ใด เพื่อบรรลุถึงบารมีต่างๆ ได้เข้าสู่โพธิสัตว์ภูมิ บรรลุมรรค
ผล บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ บรรลุนิพพาน บรรลุถึง
ธรรมธาตุทั้งปวง ข้าพเจ้า (พระสมันตภัทร) ขอแสดงมุทิตา
จิต และขออนุโมทนากุศลด้วย ทุกโลกธาตุในทศทิศ สรรพ
สัตว์ทั้ง 6 ภูมิ ทั้ง 4 กำเนิด กุศลกรรมทั้งปวง แม้จะเล็ก
น้อย ข้าพเจ้าก็ขออนุโมทนาด้วยในทศทิศ ตลอดจนทั้งสาม
ภพ พระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง พระโพธิสัตว์ทั้ง
หลายที่ได้บำเพ็ญบารมีด้วยความยากลำบาก เพื่อบรรลุถึง
โพธิญาณมหากุศลอันใหญ่หลวงนี้ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาด้วย
ข้าพเจ้าจักขออนุโมทนากุศลเช่นนี้สืบไปโดยไม่หยุดหย่อน

ปณิธานข้อที่ 6 ทูลอาราธนาให้ทรงแสดงพระธรรม


กุลบุตรทั้งหลาย ด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม
สรรพสัตว์จึงสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ เป็นอิสระจาก
สังสารวัฏอันยาวไกล ดังนั้น ผู้ที่ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้
ทรงแสดงพระธรรมนั้น จึงมีอานิสงส์ยิ่งนักด้วยกาย วาจา
ใจ ข้าพเจ้า (พระสมันตภัทร) ตั้งจิตทูลเชิญขอพระพุทธองค์
ทรงแสดงพระธรรม เพื่อสรรพสัตว์ทั้งปวง (กาย: คุกเข่า
นมัสการ, วาจา: สรรเสริญ ทูลเชิญ, ใจ: ด้วยใจ
บริสุทธิ์ แน่วแน่ ไม่ย่อท้อ) ข้าพเจ้าจักทูลอาราธนาขอพระ
พุทธเจ้าทั้งปวงทั่วทศทิศตลอดจนสามภพ ทรงแสดงพระธรรม
เช่นนี้สืบไปไม่มีหยุดหย่อน

ปณิธานข้อที่ 7 อาราธนาให้ประทับอยู่ในโลกต่อไป


กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ที่ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้อยู่ในโลกนี้
ต่อไป เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากความทุกข์
และเพื่อประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์นั้น จึงมีอานิสงค์ยิ่งนัก
ข้าพเจ้า (พระสมันตภัทร) จักทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรง
ดำรงพระชนม์อยู่ในโลกนี้ต่อไป ทั่วทศทิศตลอดจนสามภพ
ที่มีพระพุทธเจ้าจำนวนมากมายกำลังเสด็จเข้าสู่นิพพาน
ตลอดจนพระโพธิสัตว์ พระสาวก และผู้ทรงปัญญาทั้งปวง
ข้าพเจ้าขอทูลเชิญ ข้าพเจ้าขออาราธนาอย่าเพิ่งเข้าสู่พระ
นิพพาน ขอจงประทับอยู่ในโลกนี้ต่อไป เพื่อประโยชน์สุขแก่
สรรพสัตว์ ข้าพเจ้าจักทูลอาราธนาเช่นนี้สืบไปไม่มีหยุดหย่อน

ปณิธานข้อที่ 8 ขอศึกษาพระธรรมให้เจนจบ


กุลบุตรทั้งหลาย การศึกษาพระธรรมให้เจนจบ โดยขอบำเพ็ญ
บารมีตามรอยพระพุทธบาท (พระพุทธเจ้าทรงศึกษาพระธรรม
และบำเพ็ญเพียรจนบรรลุโพธิญาณ ดังนั้นสรรพสัตว์ทั้งปวงจึง
สมควรเจริญรอยตามรอยพระพุทธบาท เพื่อหลุดพ้นจาก
วัฏสงสาร หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง) ข้าพเจ้า (สมันตรภัทร)
จักขอศึกษาพระธรรมให้เจนจบดั่งพระพุทธองค์ และจักขอ
ดำเนินตามรอยพระพุทธบาทที่ทรงบำเพ็ญบารมีมา ไม่ว่าจะ
ยากลำบากสักเพียงใดก็มิได้ย่อท้อ จนบรรลุถึงโพธิญาณ สืบ
ไปโดยไม่หยุดหย่อน

ปณิธานข้อที่ 9 ขออนุโลมตามสรรพสัตว์


เนื่องจากว่าสรรพสัตว์นั้นมีนิสัย จริต ต่างกันไป พระ
พุทธเจ้าทรงมีพระมหาเมตตากรุณาที่จะโปรดสรรพสัตว์
ทรงมีกุศโลบายในการโปรดสรรพสัตว์ให้เหมาะสมกับอุปนิสัย
กุลบุตรทั้งหลาย จงปฏิบัติอนุโลมสรรพสัตว์ด้วยความเสมอ
ภาค จึงจะบรรลุเมตตาจิตโดยสมบูรณ์ อาศัยเมตตาจิตนี้ จง
อนุโลมตามสรรพสัตว์ทั้งปวง จึงจะเป็นการบรรลุผลอัน
ไพบูลย์ เพื่อเป็นพุทธบูชา ในโลกแห่งความว่างเปล่านี้ตลอด
จนทั้งสิบทิศ มีสรรพสัตว์มากมายที่บังเกิดจาก ไข่ เกิดเป็น
ตัว เกิดในน้ำ เกิดจากการจำแลงกาย เกิดจากมหาภูต
4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ตลอดจนพวกที่อาศัยอยู่ใน
เทวโลก บาดาล ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ สรรพสัตว์
ต่างๆ ทั้งปวง ข้าพเจ้า (พระสมัตรภัทร) จักปฏิบัติต่อสรรพ
สัตว์ทั้งหลาย ดุจดังข้าพเจ้าปฏิบัติต่อ มารดา บิดา อาจารย์
พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าจะเป็นดั่งโพธิสัตว์ ผู้
บำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง หากพระ
โพธิสัตว์สามารถยอมอนุโลมเพื่อสรรพสัตว์ ก็ประดุจดั่งการ
ถวายบูชาพระพุทธเจ้า หากสรรพสัตว์เคารพโพธิกิจอันงดงาม
นี้ ก็ประดุจดังการถวายบูชาแด่พระพุทธเจ้า เปรียบประดุจใน
ผืนแผ่นดินอันอุดมไปด้วยกรวดและทราย มีไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง
หากรากได้สัมผัสถึง น้ำ กิ่ง ใบ และผลก็จะงอกงามดี ฉัน
ใด ในสังสารวัฏแห่งนี้ “ โพธิจิต ” ก็ประดุจดังต้นไม้ใหญ่

“ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ” ก็คือ รากของต้นไม้ "

พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ” ก็คือ ผล อาศัยทิพยวารี
แห่งมหาเมตตากรุณาหลั่งรดลงเหนือสรรพสัตว์ ก็จะบรรลุถึง
พระปัญญาอันล้ำเลิศ แห่งพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้ง
ปวง

หากพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเปี่ยมด้วยเมตตา โปรดสรรพ
สัตว์ให้พ้นทุกข์ ก็ย่อมบรรลุสู่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
(ซึ่งเป็นโพธิกิจที่ต้องบำเพ็ญ) ด้วยเหตุนี้โพธิจึงเป็นของสรรพ
สัตว์ หากไม่มีสรรพสัตว์ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็จะไม่สำเร็จ
มรรคผล เข้าสู่พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายทรงอนุโลมตาม
สรรพสัตว์เช่นนี้ ข้าพเจ้าจักอนุโลมตามสรรพสัตว์เช่นนี้สืบ
ไป ไม่หยุดหย่อน

ปณิธานข้อที่ 10 ขออุทิศกุศลทั้งมวลแก่สรรพสัตว์


กุลบุตรทั้งหลาย การอุทิศกุศลแด่สรรพสัตว์ จากปฐมปณิธาน
คือ การเคารพบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จนบรรลุถึงปณิธาน
แห่งการอนุโลมตามสรรพสัตว์ กุศลทั้งปวงอันข้าพเจ้า (พระ
สมันตภัทร) ได้บำเพ็ญแล้ว ขออุทิศแด่สรรพสัตว์ทั้งปวง ขอ
สรรพสัตว์ทั้งปวงจงประสบสันติ ปราศจากโรคภัย ขอกุศลนี้
จงปิดทางแห่งอกุศลทั้งปวง จงเป็นปัจจัยไปสู่พระนิพพาน

หากสรรพสัตว์เหล่าใดหลงผิดไปสู่ทางอธรรม ขอจงกลับใจ
ขอสรรพสัตว์ที่สั่งสมบุญ จงบรรลุมรรคผลในเร็ววัน

หากสรรพสัตว์ใดสั่งสมอกุศลกรรมไว้ ต้องรับทุกขเวทนาอย่าง
แสนสาหัส ข้าพเจ้าขอแบกรับทุกข์นั้นแทน ขอสรรพสัตว์ทั้ง
ปวงจงหลุดพ้นจากทุกข์ บรรลุสู่โพธิญาณอันประเสริฐ

พระโพธิสัตว์ทั้งหลายทรงบำเพ็ญมีประมาณเช่นนี้ ข้าพเจ้าขอ
อุทิศกุศลทั้งปวงแด่สรรพสัตว์สืบไปเช่นนี้ไม่มีเปลี่ยนแปลง

อานิสงส์ของการสวดสมันตภัทรจริยาปณิธานปริวรรต
อวตังสกคัณฑวยูหสูตร


กุลบุตรทั้งหลาย นี้คือมหาทศปณิธาน แห่งพระสมันตภัทร
อันเป็นปณิธานที่เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ หากพระโพธิสัตว์สามารถ
ปฏิบัติตาม มหาปณิธานนี้ได้ ย่อมสามารถช่วยโปรดสรรพ
สัตว์ให้บรรลุถึง พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สามารถปฏิบัติ
มหาปณิธานแห่งพระสมันตภัทรได้โดยสมบูรณ์

หากมีกุลบุตร กุลธิดา บริจาครัตนมณีอันมีค่าทั้ง 7 สิ่ง เช่น
ทอง เงิน ไพฑูรย์ แก้วผลึก บุษราคัม ทับทิม พลอยแดง
หรือสิ่งของที่ค่าทั้งปวง อันเป็นที่ปรารถนาแห่งมนุษย์ทั้ง
หลาย ออกบริจาคแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อถวายเป็นพุทธ
บูชาแด่พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ทั้งปวง ถวายทาน และ
กระทำบูชาเช่นนี้นับกัลป์ มิให้ขาด ย่อมบังเกิดกุศลยิ่งนัก
หากผู้ใดเพียงได้สดับมหาปณิธานนี้ ย่อมบังเกิดอานิสงส์มาก
มายยิ่งกว่า การบริจาคทานเบื้องต้นยิ่งนัก เป็นร้อยพันเท่าทวี
ขึ้น

หากผู้ใดมีจิตศรัทธาในมหาปณิธานนี้ ได้กระทำสาธยายจารึก
หรือ คัดลอกพระสูตรนี้ ก็สามารถหลุดพ้นจากอนันตริยกรรม
ทั้ง 5 ปราศจากโรคาพาธทั้งปวง ทุกข์ภัยทั้งหลาย
อกุศลกรรมทั้งหลายที่สั่งสมมา ปีศาจ อสูร รากษส
กุมภัณฑ์ อันดุร้าย ภูตผี และเทวมาร ก็จักหลีกหนีไป

หากมีจิต ปรารถนาจักจดจำ ปฏิบัติ เข้าใจ ปกป้องรักษา
พระสูตรนี้ ได้กระทำบูชาสาธยายมหาปณิธานนี้ ย่อมเป็น
อิสระจากอุปสรรคทั้งหลายในโลกนี้ ดุจพระจันทร์บนฟากฟ้าที่
เป็นอิสระจากเมฆ หมอก ราคี พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์
ทั้งหลายทรงสรรเสริญว่า มนุษย์ทั้งหลายพึงเคารพบูชา
สรรพสัตว์ทั้งหลายพึงเคารพบูชา จักบังเกิดเป็นมนุษย์เปี่ยม
ด้วยบารมี ประดุจดั่งพระสมันตภัทร บรรลุโพธิญาณตาม
เสด็จพระสมันตภัทร มีกายอันวิสุทธิ์ปรากฏมหาปุริสลักษณะ
ทั้ง 32 ประการ

หากบังเกิดเป็นมนุษย์ จักบังเกิดเป็นผู้เปี่ยมศักดิ์ บังเกิดใน
ตระกูลสูงส่ง อาจทำลายสิ่งชั่วร้ายอกุศลทั้งปวง จักห่างไกล
จากมิตรอันเป็นทุรชน สามารถสยบพวกเดียรถีร์ หลุดพ้นจาก
ทุกข์ทั้งปวง ประดุจพระยาราชสีห์ ผู้อาจสยบสัตว์ทั้งปวง
เป็นผู้ได้รับความเคารพบูชาจากสรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อใกล้
กาลมรณะ พระสมันตภัทรจะเสด็จมาประทับอยู่เบื้องหน้าผู้นั้น
และนำไปสู่สุขาวดีพุทธเกษตร ได้นมัสการพระอมิตภ
พุทธเจ้า พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระ
มหาโพธิสัตว์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระสิริสง่างาม เปี่ยมด้วยพระ
บารมีอันบริบูรณ์ประทับอยู่แทบบาท (พระอมิตาภพุทธเจ้า)
ผู้นั้นจะบังเกิดในปทุมชาติ เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์จากพระ
ตถาคตเจ้าแล้ว จักดำเนินผ่านโลกานุโลก อันนับไม่ถ้วนนับ
ด้วยกัลป์ อาศัยอานุภาพแห่งปัญญาบารมี เกื้อกูลสรรพสัตว์
ได้บรรลุถึงโพธิญาณ สยบมารทั้งหลาย ตรัสรู้พระอนุตรสัมมา
สัมโพธิญาณ เคลื่อนกงล้อพระธรรมจักร โปรดสรรพสัตว์ใน
พุทธเกษตรทั้งปวงให้บังเกิดโพธิจิต สั่งสอนสรรพสัตว์
โดยมหากุศโลบาย ตลอดถึงกัลป์ในอนาคตกาล ก็จักทำ
ประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตว์

กุลบุตรทั้งหลาย หากสรรพสัตว์ได้สดับ และบังเกิดศรัทธาใน
มหาปณิธานนี้ บำเพ็ญและสาธยายประกาศแด่ชนทั้งมวล จัก
บังเกิดกุศลจนมิอาจประมาณได้ เกินสติปัญญาสรรพสัตว์จะ
หยั่งรู้ เว้นแต่อาศัยพุทธปัญญาแห่งพระตถาคตเจ้าจึงอาจหยั่ง
รู้ กุลบุตรทั้งหลาย เมื่อได้สดับพระมหาปณิธานนี้แล้ว จง
อย่าบังเกิดข้อกังขา พึงน้อมรับ สาธยายและนำไปปฏิบัติ คัด
ลอกประกาศแด่สรรพสัตว์ทั่วไป เมื่อมีการสาธยายและปฏิบัติ
ตามมหาปณิธานนี้ จักบรรลุถึงโพธิญาณ บังเกิดอานิสงส์มิ
อาจประมาณได้ สามารถโปรดสรรพสัตว์ให้ก้าวพ้สังสารวัฏ
ไปบังเกิดในสุขาวดีภพ นมัสการพระอมิตาภพุทธเจ้าผู้ทรง
การุณย์